วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หลวงปูทวด วัดช้างให้

สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ
หลวงปู่ทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป








ทารกอัศจรรย์
         เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้
 นี้มีนายว่า “ปู” เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา
สามีราโม
         เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า “ราโม ธมฺมิโก” แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า “เจ้าสามีราม” หรือ “เจ้าสามีราโม” เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง
         เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา
         เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ


สถูปเจดีย์ หลวงปู่ทวด
รบด้วยปัญญา
         กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงปู่ทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์
         เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่าพระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย
พระสุบินนิมิต
รูปหล่อหลวงปู่ทวด ปางธุดงค์ วัดพะโคะ
เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมด
ครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบรรทม
รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที
อักษรเจ็ดตัว
         ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ “เจ้าสามีราม” ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า “เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้” ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีราม


พ่อท่านไข่ วาจาสิทธิ์ วัดลำนาว

ประวัติพ่อท่านไข่ วาจาสิทธิ์ วัดลำนาว
 ท่านมีสมณศักดิ์ที่ พระครูศีลมงคล ฉายา นาถสีโล อายุ ๙๑ ปี
นาม เดิม ไข่ นะจะทอง โยมบิดาชื่อ ด้วง โยมมารดาชื่อ คล้าย ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๗ เดือน ๗ ปีเถาะ พ.ศ.๒๔๕๖ มีพี่น้อง ๓คน เป็นชายทั้งหมด

หลวงพ่อไข่ ท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี และอุปสมบทเป็นพระเมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ อุโบสถวัดชัยชุมพล อ.ทุ่งสง โดยมี พระครูอุดมศีลาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงพ่อไข่ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย ฝึกสมาธิกรรมฐาน กับครูบาอาจารย์หลายต่อหลายท่านจน หลวงพ่อไข่มีความเชี่ยวชาญแตกฉานในวิชาแขนงต่างๆ รวมทั้งพระคาถาอาคมขลัง ต่อมาพ่อท่านไข่ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งสร้าน วัดวังขรี วัดทุ่งควายและสุดท้ายท่านได้รับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาส วัดลำนาว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ มาจนถึงปัจจุบัน
พ่อท่านไข่ ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำวัตรปฏิบัติไม่เคยขาด เจริญกรรมฐานเป็นอารมณ์ท่านสวดพระคาถาชินบัญชรเป็นนิจ ตั้งแต่สมัยที่ท่านอุปสมบทใหม่ๆ จนถึงปัจจุบันทั้งยังเป็นพระที่รักสันโดษ มักน้อย สมถะ ไม่ยืดติดในลาภยศใดๆ ทั้งสิ้น สมกับเป็น พระแท้พระบริสุทธิ์สงฆ์ อันแท้จริงของชาวใต้ และเป็นหลักชัยของ อ.บางขัน ตลอดมา ในแต่ละวัน พ่อท่านไข่  วัดลำนาวท่านจะรับแขกเพียงหนึ่งหรือสองเวลาเท่านั้น ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่ไปหาท่านก็เพื่อขอพรจากท่าน เพราะต่างก็เชื่อกันว่า พรที่ได้จาก"หลวงพ่อไข่ วาจาสิทธิ์ วัดลำนาว"ท่านนั้นศักดิ์สิทธิ์มาก และจะเป็นไปตามวาจาสิทธิ์ของท่านเสมอ

พ่อท่านไข่  วัดลำนาว หรือ หลวงพ่อไข่ วาจาสิทธิ์

พระเกจิอาจารย์สายใต้

รายชื่อพระเกจิอาจารย์สายใต้ ที่ยังมีชีวิตอยู่ อาจจะไม่ครบแต่เท่าที่รู้ตามนี้ครับ
พระเกจิสายใต้


สายนครศรีธรรมราช
พระราชธรรมสุธี วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร, พระเทพสิริโสภณ วัดวังตะวันตก,
พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน, พ่อท่านเนียม วัดบางไทร, พระวินัย โมลี วัดวิเวกรัตนธัชมุนี,
พ่อ ท่านชม วัดโพธิ์เสด็จ, พ่อท่านสมนึก วัดทรงบล, พ่อท่านหรั่ง วัดห้วยเตง, พ่อท่านไพสิฐ อาศรมสามแก้ว พ่อท่านบุญให้ วัดท่าม่วง, พ่อท่านหม่ำ วัดนพรัตนาราม, พ่อท่านแสง วัดหน้าสตน, พระอาจารย์เปลี่ยน วัดสุขุม, พ่อท่านชัย วัดปากแพรก, พ่อท่านสุรินทร์ วัดรามแก้ว ,พ่อท่านผดุง วัดภูเขาหลัก, พ่อท่านณรงค์ วัดพรหมโลก, พระครูญาณธราภรณ์ วัดโคกโพธิ์สถิตย์, พ่อท่านเพ็ง วัดธาตุน้อย, พ่อท่านชม วัดควนคลัง, พระครูสุเมธ มงคลญาณ วัดคงคาวดี, พ่อท่านเนื่อง วัดสวนจันทร์, พ่อท่านกาชาด วัดหน้าพระธาตุ, พ่อท่านชอบ วัดหน้าพระบรมธาตุ, พระครูโกศลเวทย์ วัดแหลม, พระครูโสภิตบุญยสาร วัดหัวค่าย, พระครูอุดมวิริยคุณ วัดโคกสูง, พ่อท่านนิยม วัดนากุล, อาจารย์ชัย วัดบางไทร, พระครูจิตตสุนทร วัดสว่างอารมณ์, พ่อท่านเมียด วัดชัน, พ่อท่านแจ้ วัดเขาใหญ่ พระครูสุภัทรชยาภรณ์ วัดปากด่าน, พระครูพิทักษ์เจติยานุการ วัดถลุงทอง

สายจังหวัดพัทลุง (เขาอ้อ)
พระ ธรรมวรมนี วัดคูหาสวรรค์, พระครูพิพิธวรกิจ พ่อท่านคล้าย วัดภูเขาทอง, หลวงพ่อเงิน วัดโพรงรู, พ่อท่านเหวียน วัดพิกุลทอง, พ่อท่านอุทัย วัดวิหารสูง พระอาจารย์
ไพรัตน์ วัดเขาอ้อ, พระครูสังฆรักษ์เอียด (หลวงพ่อเอียด) วัดโคกแย้ม, พ่อท่านแคล้ว วัดธรรมเจดีย์, พ่อท่านพรหม วัดบ้านสวน, พระครูวิจิตรธรรมภาณ(สลับ ชูยก) วัดป่าตอ  พ่อหลวงศักดิ์ พระครูธรรมมาธิบาล(วัดท่ามิหรำ)



สายจังหวัดสงขลา
พระ เทพวีราภรณ์ วัดโคกสมานคุณ, พระอาจารย์ชัย วัดพะโค๊ะ, พระพิศาลพัฒนพิธาน (หลวงพ่อผัน) วัดทรายขาว, พ่อท่านกลาย วัดห้วยกลาย สายจังหวัดตรัง พ่อท่านโสภณ วัดเขาห้วยแห้ง, พ่อท่านประสูติ วัดในเตา, พ่อท่านณรงค์ วัดสาวิการาม, หลวงพ่อหวล วัดโคกหล่อ, พ่อท่านนวล วัดแจ้ง

วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)

วัดช้างให้ ตั้งอยู่ที่ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธ์ิ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐาน ปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป จนมาถึงวันหนึ่ง ช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงได้ถือเป็นนิมิตที่ดี จะใช้บริเวณนั้นสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชื่อว่า วัดช้างให้ แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านลังกา หรือ สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านได้เดินธุดงค์ไปมา ระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้ และได้สั่งลูกศิษย์ไว้ว่า ถ้าท่านมรณะภาพ ขอให้นำศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ ซึ่งเมื่อท่านมรณะภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ก็ได้นำศพท่านมา ทำการฌาปนกิจที่วัดช้างให้ อัฐิของท่านส่วนหนึ่งฝังไว้ที่วัดช้างให้ อีกส่วนหนึ่งนำกลับไปเมืองไทรบุรี ต่อมาได้สร้างสถูปบรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดช้างให้    เมื่อปี พ.ศ. 2480 พระครูมนูญเจ้าอาวาสวัดพลานุภาพ เจ้าคณะตำบลทุ่งพลา ให้พระช่วงมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ ท่านได้ชักชวนชาวบ้านมาแผ้วถางป่า สร้างกุฎิ ศาลาการเปรียญ พร้อมเสนาสนะอื่น ๆ จึงได้ชื่อว่า วัดราษฎร์บูรณะ เจ้าอาวาสองค์ต่อ ๆ มาก็ได้บูรณะเพิ่มเติมวัดช้างให้ มาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน วัดช้างให้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2500 และผูกพันธสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2501

วัดพระธาตุสวี ชุมพร

ตั้งอยู่ติดแม่น้ำสวี มีตำนานเล่าว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เสด็จยกทัพมาพักรี้พลอยู่ในเขตอำเภอสวี ได้พบเหตุการณ์ประหลาด คือ มีกาเผือกและกาอื่น ๆ จับกลุ่มส่งเสียงร้องเหนือกองอิฐปรักหักพัง จึงรับสั่งให้รื้อเศษอิฐที่หักพังทับถมกันออก พบฐานพระเจดีย์ใหญ่ เมื่อขุดลึกลงไปพบผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จึงโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นใหม่แทนเจดีย์องค์เดิม สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งปี พ.ศ.2459 ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ โดยการสร้างพระธาตุครอบเจดีย์องค์เดิม ส่วนด้านหน้าพระธาตุ ติดกับแม่น้ำสวีมีศาลเจ้าภายในเป็นรูปปั้นคนนั่งขนาดเท่าคนจริง ชาวอำเภอสวีเรียกว่า ศาลพระเสื้อเมือง

วัดทรายขาว สงขลา

  
 "เจ้าคุณผัน" พระนักพัฒนาแห่งแดนทักษิณ
ภูเขาหลง ตั้งอยู่ที่หมู่ ๖ ต.ทุ่งหวัง อ.เมือง จ.สงขลา สภาพภูเขาหลงมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม มีต้นไม้นานาชนิด และเมื่อขึ้นไปถึงยอดภูเขาหลงแล้วก็จะมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม สามารถมองเห็นทะเลสาบสงขลา และตำบลรอบๆ ได้อย่างชัดเจน
มีอาคารปฏิบัติธรรม ๒ หลัง ซึ่งสามารถรองรับผู้มาปฏิบัติธรรมได้ ๘๐๐-๑,๐๐๐ คน มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ที่นับถือศาสนาพุทธมาปฏิบัติธรรมเป็นประจำทุกเดือน
นอกจากนี้แล้ว ส่วนราชการทั้งภายใน จ.สงขลา และต่างจังหวัด ก็ใช้ภูเขาหลงเป็นสถานที่ฝึกอบรมสัมมนาต่างๆ เป็นประจำ โดยการนำของ พระราชพิพัฒนาภรณ์ (ผัน ปสนฺโน) เจ้าอาวาสวัดทรายขาว เจ้าคณะอำเภอเมืองสงขลา
ท่าน เจ้าคุณผัน มีประวัติการทำงานที่ดีเด่น ได้รับมอบหมายด้วยความเชื่อถือไว้วางใจ ให้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญโดยตลอด ท่านสามารถเป็นผู้นำในการทำงานหลายๆ ด้าน ไปพร้อมกัน ในขณะที่ดำเนินงานพัฒนาชุมชน ก็พัฒนาวัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปพร้อมๆ กัน
ในด้านงานเผยแผ่พระพุทธศาสนามีการอบรมธรรมแก่พระภิกษุสามเณรทุกวันธรรมสวนะ และวันอุโบสถ
นอกจากนี้ ท่านยังเป็นหนึ่งในสุดยอดพระเกจิชื่อดังของภาคใต้ ในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรายการสำคัญๆ จะมีนามของท่านปรากฏอยู่ตลอด
มี การอบรมศีลธรรมแก่พุทธศาสนิกชนทุกวันธรรมสวนะ มีผู้รักษาศีลฟังธรรมที่วัดตลอดปี จำนวน ๕๐-๑๐๐ คน เป็นวิทยากรอบรมธรรมแก่พุทธศาสนิกชน ทั้งที่ภูเขาหลง และนอกสถานที่ รวมถึงในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง ศรีลังกา ลาว และสหรัฐอเมริกา
รวมทั้งชักชวนชาวต่างประเทศเข้ามาบรรพชาอุปสมบท ณ วัดทรายขาว เป็นประจำทุกปี ที่สำคัญคือ ในปี ๒๕๔๗ ท่านยังดำเนินการจัดสร้าง วัดไทยในเกาะลังกาวี รัฐเกดาห์ ประเทศมาเลเซีย ชื่อว่า วัดไทยลังกาวีวนาราม มีพื้นที่จำนวน ๑๒ ไร่ สำหรับเป็นสถานที่บำเพ็ญศาสนกิจ และเผยแผ่ธรรมในต่างแดน รวมทั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมด้วยตนเอง
นอกจากการพัฒนาเด็กและเยาวชนในด้านการศึกษาแล้ว ท่านยังมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะอบรมบ่มเพาะศีลธรรมคุณธรรมขึ้นในจิตใจให้ พวกเขาอีกด้วย  ดังเช่นการเปิดแผนกธรรมศึกษาให้นักเรียน นักศึกษา ได้เรียนและฝึกปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง และการจัดกิจกรรมอบรมให้แก่เด็กและเยาวชนในวาระต่างๆ อยู่เป็นประจำ เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษา คุณธรรม จริยธรรมของพวกเขาให้สูงขึ้น
ดังจะเห็นได้ว่า ท่านเป็นแกนนำหลักในการพัฒนาโรงเรียนวัดทรายขาว ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนของเด็กในชุมชนทุ่งหวัง ให้มีความพร้อมสำหรับการเรียนการสอน
ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการสำคัญอีกโครงการหนึ่ง ที่ท่านเจ้าคุณผันจัดขึ้นทุกปี ณ วัดทรายขาว โดยท่านเป็นผู้อำนวยการโครงการเอง ได้แก่ โครงการอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน ซึ่งเป็นโครงการอบรมความรู้ด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม มารยาททางสังคม และความรู้วิชาสามัญ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และภาษาไทย เพื่อเยาวชนที่เข้าโครงการจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม สามารถนำความรู้ประสบการณ์ และทักษะที่ได้รับไปใช้ให้เกิดคุณประโยชน์ต่อตัวเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม

หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด พ่อท่านฉิ้น โชติโก วัดเมืองยะลา

พ่อท่านฉิ้น เป็นพระเกจิอาจารย์สายตรง"หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าท่านเป็นทั้งศิษย์และสหธรรมิกของพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร ส่วนศิษย์ของพระอาจารย์ทิมอีกท่านหนึ่งก็คือพระอาจารย์นอง วัดทรายขาว ทั้งสามท่านร่วมแรงร่วมใจกันจัดสร้างพระเครื่องเนื้อว่านหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ปี 2497 และพระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน วัดเมืองยะลา ปี 2505 และนี่เองที่เชื่อกันว่าพระเกจิอาจารย์ในยุคปัจจุบันไม่มีใครรู้เรื่อง ศาสตร์การสร้างพระเครื่องชุด หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ได้ดีเท่าพ่อท่านฉิ้น วัดเมืองยะลา

วัดพระธาตุ เมือง นครศรีธรรมราช

ตำนานการสร้างพระบรมธาตุเมืองนคร


ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่กลางใจเมือง ตามตำนานกล่าวว่า องค์พระบรมธาตุเจดีย์ได้ก่อครอบพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งฝังไว้ ณ หาดทรายแก้วแห่งหนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า นางเหมชาลากับเจ้าทนทกุมาร ผู้เป็นพระราชบุตรีและพระราชโอรสท้าวโกสีหราช แห่งเมืองทนทบุรี ได้นำพระทันตธาตุหนีไปลังกา เมื่อตอนที่ท้าวโกสีหราชเสียเมืองให้แก่ ท้าวอังกุศราช แต่เรือแตกจึงได้พากัน ขึ้นบกที่หาดทรายแก้ว เอาพระทันตธาตุฝังไว้ที่หาดทราย แล้วจึงหลบหนีไป ต่อมา พระอรหันต์ชื่อพระมหาเถรพรหมเทพ มาโดยนภากาศ ได้เห็นรัศมีพระ ทันตธาตุโชติช่วงขึ้นมาจากที่ฝัง จึงได้ลงไปนมัสการและทำนายว่า ในอนาคตสถานที่นี้จะมีพระยาองค์หนึ่ง มาตั้งเป็นเมืองใหญ่


ในกาลต่อมา พระยาศรีธรรมาโศกราช ได้ทรงก่อพระมหาธาตุสูง ๓๗ วา ไว้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าว เมื่อปี พ.ศ. ๑๐๙๘ แล้วได้สร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น ตามหลักฐานทางพงศาวดารและทางโบราณคดี พบว่าพระยาศรีธรรมาโศกราช เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ปทุมวงศ์ ที่เป็นใหญ่อยู่ที่เมืองตามพรลิงค์ ได้ย้ายเมืองมาสร้างใหม่บนหาดทรายแก้ว เมื่อปี พ.ศ. ๑๖๒๐ พร้อมกับทรงสร้างพระบรมธาตุขึ้นไว้กลางเมือง พระองค์จึงได้เฉลิมพระนามใหม่ว่า พระยาศรีธรรมาโศกราช เพราะทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดุจดังพระเจ้าธรรมาโศกราชของอินเดีย


ตามที่กล่าวจารึกไว้ในศิลาจารึก หลักที่ ๒๔ ด้วยเหตุนี้ เมืองที่สร้างใหม่ ณ หาดทรายแก้วดังกล่าวจึงมีชื่อว่า นครศรีธรรมราช และเรียกกันในทางพระพุทธศาสนาว่าปาฏลีบุตรนคร จากศิลาจารึกบนเกาะลังกา มีความว่าในปี พ.ศ. ๑๗๙๐ พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ทรงยกทัพเรือไปรบลังกา ได้ชัยชนะ พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช นี้คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ ๕ เมื่อกลับจากลังกาแล้ว ก็ได้ให้ช่างก่อพระเจดีย์แบบลังกา สวมทับพระธาตุองค์เดิมที่เป็นแบบศรีวิชัย ทำให้พุทธศาสนาฝ่ายมหายานหมดไปจากนครศรีธรรมราชในครั้งนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๘๑๕ ขุนอินทาราได้รับแต่งตั้งจากกรุงอโยธยา ให้มากินเมืองนครศรีธรรมราช ขุนอินทาราได้ดำเนินการให้พระเถระเจ้าเมืองต่าง ๆ รวมทั้งคฤหบดีรับงานเสริมสร้างพระบรมธาตุ ที่ยังสร้างไม่เสร็จมาแต่เดิมจนเสร็จ มีพระระเบียงและกำแพงล้อมรอบ พระบรมธาตุเรียบร้อย ทางกรุงอโยธยาจึงเลื่อนขุนอินทาราขึ้นเป็น พระศรีมหาราชา


สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในสาส์นสมเด็จว่า พระมหาธาตุองค์เดิม เหมือนกันกับพระมหาธาตุไชยา พระสถูปที่เป็นพระมหาธาตุปัจจุบัน พวกลังกามาสร้างครอบพระมหาธาตุเดิมในภายหลัง เมื่อมีการซ่อมวิหารพระม้า ได้ขุดพื้นลงไปพบบรรไดพระธาตุเดิมอยู่ใต้ดิน เป็นอีกองค์หนึ่งต่างหาก


งานประเพณีประจำปี


งานประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ กระทำปีละสองครั้งคือ ในวันมาฆบูชา และวันวิสาขบูชา เริ่มด้วยการนำผ้าเป็นแถวยาวมาก แล้วพากันแห่ผ้านั้นไปยังวัดพระมหาธาตุ กระทำทักษิณาวรรตองค์พระธาตุเจดีย์สามรอบ แล้วจึงนำไปยังวิหารม้า ซึ่งจะมีบันไดขึ้นสู่ภายในกำแพงแก้วล้อมรอบพระบรมธาตุเจดีย์ แล้วนำผ้าไปโอบรอบพระบรมธาตุเจดีย์


ตามตำนานมีว่า ประมาณปี พ.ศ. ๑๗๗๓ พระเจ้าธรรมาศรีโศกราช และพระญาติ รวมสามองค์ กำลังจะสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดผ้าแถบใหญ่และยาวผืนหนึ่ง ขึ้นมาที่ชายหาดปากพนัง บนผืนผ้ามีภาพเขียนเรื่องพระพุทธประวัติ เรียกว่า พระบต ชาวบ้านได้นำผ้าผืนนั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ผ้าผืนดังกล่าวเป็นของพุทธศาสนิกชนกลุ่มหนึ่ง จะเดินทางไปลังกา เพื่อนำไปบูชาพระเขี้ยวแก้วที่ลังกา แต่เรือโดนพายุล่มที่ชายฝั่งเมืองนคร พระองค์ได้นำผ้าผืนนั้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ จึงเกิดเป็นประเพณี มาจนถึงทุกวันนี้


ประเพณีตักบาตรธูปเทียน กระทำในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปด เวลาบ่ายประมาณ ๑๔.๐๐ น. เป็นต้นไป พระภิกษุสงฆ์จากวัดต่าง ๆ มาพร้อมกันที่วัดพระมหาธาตุ ฯ ยืนเป็นแถวยาวที่หน้าวิหารทับเกษตร ชาวบ้านก็จะนำธูปเทียนใส่ในย่ามพระไปตามลำดับทุกรูป เสร็จแล้วก็ไปจุดเปรียง บริเวณหน้าพระพุทธรูปและฐานเจดีย์ทุกฐาน เพื่อเป็นพุทธบูชา


พระธาติเมืองนครกับพระเจ้าจันทรภาณุ


พ.ศ. 854 เจ้าชายทนทกุมาร และพระนางเหมชาลาและบาคู (แปลว่า นักบวช) ชาวศรีลังกา ได้สร้างวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (เดิมชื่อ วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช) เจดีย์องค์เดิมเจดีย์แบบศรีวิชัยคล้ายเจดีย์กิริเวเทระ ในเมืองโบโลนนารุวะ ประเทศศรีลังกา


พ.ศ. 1093 พระเจ้าจันทรภาณุ ได้ทำการสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ขึ้นพร้อมกับการก่อสร้าง เจดีย์ขึ้นใหม่เป็นเจดีย์แบบศาญจิ


พ.ศ. 1770 พระเจ้าจันทรภาณุ ได้บูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ เจดีย์แบบลังกา ทรงระฆังคว่ำ หรือ โอคว่ำ มีปล้องไฉน 52 ปล้อง สูงจากฐานถึงยอดปลี 37 วา 2 ศอก ยอดปลีของปล้องไฉน หุ้มทองคำเหลืองอร่าม สูง 6 วา (เท่ากับ 2 เมตร) 1 ศอก (เท่ากับ 0.50 เมตร) แผ่เป็นแผ่นหนา เท่าใบลานหุ้มไว้ น้ำหนัก 800 ชั่ง (เท่ากับ 960 กิโลกรัม) รอบพระมหาธาตุมีเจดีย์ 158 องค์


พระธาตุไร้เงา


ความอัศจรรย์ของพระบรมธาตุแห่งแดนใต้ที่แม้เงายังมิยอมตกต้องพื้น วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นที่ประดิษฐานปูชนีย สถานศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองนครฯ หรือที่เรียกว่าตามพรลิงค์ในอดีต นอกจากวิหารหลายหลังที่งดงามด้วย งานศิลปะช่างอยุธยาแล้ว ยามแดดตกต้ององค์พระธาตุเจดีย์ เหลื่อมเงากลับทาบทอด ไม่ถึงพื้นพสุธา จนแลคล้ายว่าพระธาตุเจดีย์ยิ่งใหญ่องค์นี้ไร้เงาอย่างน่าอัศจรรย์


เชื่อกันว่า ถ้าหากพระธาตุมีเงาเมื่อไหร่ และเงาตกไปทางทิศไหน ทิศนั้นก็จะเกิดเหตุการณ์ร้ายๆขึ้น อย่างตอนที่เกิดพายุถล่มแหลมตะลุมพุก เมื่อสมัยนู้นก็มีข่าวว่า ก่อนหน้านั้นมีคนเห็นเงาพระธาตุกันหลายคน ส่วนช่วงก่อนเกิดสึนามินี่ก็มีข่าวว่ามีคนเห็นเงาของพระธาตุ


พระธาตุนครกับพุทธศาสนา


พระบรมธาตุเมืองนคร นอกจากจะเป็นดังศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ แห่งคาบสมุทรแดนใต้ที่โดดเด่น ไปด้วยงานพุทธศิลป์แบบลังกาแล้ว ยังมีผู้กล่าวว่าพระบรมธาตุเมืองนครนั้นแฝงไปด้วยธรรมมะนิยาม ในศาสนาพุทธอยู่หลายส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นฐาน 4 ด้านของรัตนเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ 4 มุมนั้นเปรียบดังอริสัจจ์ 4 รูปพระอรหันต์ทั้ง 8 ที่ยืนไหว้รอบพระธาตุ ทั้ง 8 ทิศนั้นแทนความหมายของมรรคมีองค์ 8 ปล้องไฉนที่มีจำนวน 52 ปล้องนั้น มีผู้ตีความว่าหมายถึงอายุเวลาของพระพุทธศาสนา อันเกิดจาก 1+50+1 โดย 1 ตัวแรกหมายถึง ช่วง 1 ศตวรรษของพระพุทธเจ้าสมณโคดม 50 หมายถึง 50 ศตววรษหรือ 5,000 ปี ของอายุพระพุทธศาสนา 1 ตัวหลังหมายถึง 1 ศตวรรษของพระศรีอาริยเมตไตรย


ส่วนปลียอดทองคำนั้น เปรียบได้กับนิพพานในพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้คนสมัยก่อนจึงมีความเชื่อว่า หากได้ขึ้นมาเดินเวียนประทักษิณ(3 รอบ) ณ ลานประทักษิณก็เป็นดังการเข้าสู่นิพพานกลายๆ ด้านใครที่อยาก ได้มงคลสูงสุดก็ต้องทำการถวาย ผ้าพระบฏแก่องค์พระธาตุ อันที่มาของประเพณีแห่งผ้า ขึ้นธาตุที่จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ในวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชาของทุกปีนั่นเอง


พระธาตุทองคำ


สำหรับพระบรมธาตุเมืองนครทรงลังกาที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นกลางเมืองนครศรีฯนั้น มีความสูง 55.78 เมตร องค์ระฆังสูง 9.80 เมตร มีปล้องไฉน 52 ปล้อง โดยปลียอดของปล้องไฉนหุ้มด้วยทองคำเหลืองอร่าม หนาขนาดใบตาล สูงถึง 6 วา 1 ศอก ส่วนรอบพระบรมธาตุองค์หลักก็ยังมีเจดีย์รายรอบเป็นจำนวนมากถึง 158 องค์เลยทีเดียว และด้วยความที่เป็นปลียอดพระธาตุเป็นทองคำเหลืองอร่าม ทำให้พระบรมธาตุเมืองนครได้รับการเรียกขานอีกชื่อหนึ่งว่า "พระธาตุทองคำ" ซึ่งถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพระธาตุไร้เงาอยู่ด้วยเหมือนกัน เพราะเพื่อนคนเมืองคอน(คนเดิม) มันบอกว่า


ยามเมื่อแสงส่องต้องลงมายังปลียอดที่เป็นทองคำ ก็จะไม่เกิดเป็นเงาดำ หากแต ่จะเกิดเป็นแสง สะท้อนมลังเมลืองขึ้นมา ถือเป็นหนึ่งในเหตุผล (ทางวิทยาศาสตร์)ที่ว่าทำไมยอดของพระธาตุจึงไร้เงา ส่วนการที่องค์พระธาต ุไร้เงานั้น มันบอกว่า ยังเป็นปริศนาที่หาคำตอบไม่ได้อยู่ดี


พระธาตุทรุดเอียง




สำหรับการจะขึ้นไปสักการะองค์พระธาตุที่ลานประทักษิณ จะต้องเดินขึ้นบันไดในวิหารทรงม้าเข้าไป โดยหน้าประตูทางขึ้น ซ้าย-ขวา จะมีรูปเคารพของท้าวจตุคาม(เท้าขัตตุคาม)และท้าวรามเทพ(เท้ารามเทพ) 2 เทพผู้คอยปกปักรักษาองค์พระบรมธาตุอันเปรียบเสมือนตัวแทน ของพระพุทธศาสนาประดิษฐานอยู่ เพื่อนคนนครบอกกับผมว่า แต่ก่อนคนมักจะเดินผ่านเทพทั้ง 2 ขึ้นไปสักการะองค์พระธาตุ แบบไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ จนเมื่อเกิดปรากฏการณ์จตุคามขึ้นมา ก็กลับกลายเป็นว่ามีคนตั้งใจ เดินทางขึ้นไปไหว้เทพทั้ง 2 องค์มากกว่าไปไหว้องค์พระบรมธาตุเสียอีก เรื่องนี้เมื่อ 3 เดือนที่แล้วผมได้มีโอกาสขึ้นไปไหว้องค์พระบรมธาตุบนลาน ประทักษิณมาก็เห็นจริงดังที่มันว่า จนเมื่อไม่กี่วันมานี้ไอ้เพื่อนนี้มันโทร.มาบอกว่า ทางวัดเขาปิดไม่ให้คนขึ้นไปบนลานประทักษิณแล้ว เพราะบันไดทางขึ้นในวิหารทรงม้าทรุด!!!


แต่นั่นก็ยังไม่หนักหนาเท่ากับ ข่าวการทรุดเอียง ขององค์พระธาตุ อันเกิดมาจากการที่รถบรรทุก บรรทุกวัตถุมงคลวิ่งเข้า-ออก บริเวณลาน วัดอยู่เป็นประจำ ทำให้แรงสั่นสะเทือน จากการ วิ่งส่งผลกระทบต่อองค์พระธาตุ จนเกิดการทรุดเอียงตามที่เป็นข่าว (แม้กรมศิลป์จะออกมาระบุภายหลังว่า องค์พระบรมธาตุเอียงมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ว่าหลังจากกฎห้าม รถบรรทุกวิ่งเข้าเขตวัดก็ทำให้ วัดพระมหาธาตุดูสะอาด เป็นระเบียบและสงบมากขึ้น)


"องค์พระบรมธาตุเมืองนครเป็นสมบัติของชาวพุทธทั้งโลก เป็นสมบัติล้ำค่า ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้นมา ทุกคนควรจะหวงแห นและอนุรักษ์ไว้ให้อยู่ไปชั่วลูกชั่วหลาน จริงอยู่กาลเวลาอาจจะ ทำให้ชำรุดทรุดโทรมได้ แต่ก็ไม่ควรมาชำรุดทรุดเอียงเพราะคนบางกลุ่มที่เห็นแก่เงิน เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก" เพื่อนคนเมืองคอนถือโอกาสระบาย ความในใจให้ฟัง ซึ่งผมมานึกๆ ดูแล้วก็รู้สึกว่า สงสัยเท้าจตุคามรามเทพ ที่เป็นดังผู้คอยปกปักรักษาองค์พระธาตุ จะต้านทานพลังความโลภของมนุษย์หลายๆคนที่หากินกับ จตุคามรามเทพในยุคนี้ไม่ไหวเสียแล้ว เพราะเหตุนี้องค์พระบรมธาตุถึงได้ทรุดเอียง อันเป็นผลพวงมาจากจิตใจของใครหลายๆคนที่ทรุดเอียง เบี่ยงเบนไปจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา

พระอาจารย์ ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ พัทลุง

"เท่าที่ค้นพบจากพงศาวดาร และจากคำบันทึกของพระเจ้าของตำรา พระอาจารย์ทุกองค์ในสำนักวัดเขาอ้อมีความรู้ความสามารถในทางไสยศาสตร์ให้แก่ทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นเจ้าเมือง และนักรบมาแต่ครั้งโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตลอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระอาจารย์ที่ปรากฏองค์ที่ 1 ชื่อ พระอาจารย์ทอง ในสมัยนั้นทางฟากตะวันตกของทะเลสาบตรงกับวัดพระเกิด ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน ปัจจุบันนี้
ประวัติพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ

ครั้งนั้นตามพงศาวดารเมืองพัทลุงกล่าวว่า ยังมีตายาย 2 คน ตาชื่อ สามโม ยายชื่อ ยายเพ็ชร์ ตายายมีบุตรหลานบุญธรรมอยู่ 2 คน ผู้ชายชื่อ กุมาร ผู้หญิงชื่อ เลือดขาว นางเลือดขาวกล่าวว่าเป็นอัจริยะมนุษย์ คือ เลือดในตัวนางมีสีขาว ผิวขาวผิดกับมนุษย์ธรรมดาสามัญ

ตาสามโมเป็นนายกองช้าง หน้าที่จับช้าง เลี้ยงช้างถวายพระยากรงทอง ปีละ 1 เชือก เมื่อบุตรธิดาทั้งสองเจริญวัยพอสมควรแล้ว ตายายจึงนำไปฝากให้พระอาจารย์ทอง วัดเขาอ้อ สอนวิชาความรู้ให้ พบบันทึกในตำราว่าเริ่มนำตัวไปถวายพระอาจารย์ทองเมื่อวันพฤหัสบดี ปีกุน เดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 301 (พ.ศ.1482) จะศึกษาอยู่นานเท่าใดไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่าเป็นผู้มีความรู้ทางอยู่ยงคงกระพัน กำบังกายหายตัวและอื่นๆ เป็นอย่างดียิ่ง ต่อมาตายายให้บุตรบุญธรรมทั้งสองแต่งงานเป็นสามีภรรยากัน พระยากรงทองโปรดให้ไปเป็นเจ้าเมืองชื่อพระกุมารและนางเลือดขาว ตั้งเมืองอยู่ที่บางแก้วฝั่งทะเลสาบตะวันตก ชื่อเมืองตะลุง ได้สร้างวัดและเจดีย์วัดตะเขียน (วัดบางแก้ว ตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เดี๋ยวนี้)

การที่ให้ชื่อเมืองว่า เมืองตะลุง อาจจะเป็นเพราะว่าเดิมเป็นหลักล่ามช้าง ต่อมาจึงกลายเป็นเมืองพัทลุง พระกุมารและนางเลือดขาวเป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างวัดวาอาราม พระพุทธรูป พระเจดีย์ ในเขตเมืองพัทลุง เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองตรัง หลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดบางแก้ว วัดสทังใหญ่ เมื่อปีพ.ศ. 1493 สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดตรัง 1 วัด สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์ พอจะจับเค้ามูลได้ว่าวัดเขาอ้อมีมาก่อนเมืองพัทลุง เพราะกุมารมาศึกษาวิชาความรู้ก่อนเป็นเจ้าเมือง" และยังมีตอนหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องถึง
ประวัติของหลวงพ่อทวด แห่งวัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี แต่ครั้งยังอยู่วัดพะโคะ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ว่า

"เมื่อจุลศักราช 991 (พ.ศ.2171) พระสามีรามวัดพะโคะ หรือที่เราทราบกันเดี๋ยวนี้ว่า
หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ซึ่งประชาชนในสมัยนั้นยกย่องถวายนามว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ท่านได้ไปเรียนพระปริยัติธรรม ณ กรุงศรีอยุธยา เป็นผู้แตกฉานในอรรถธรรม ครั้งนั้นยังมีพราหมณ์เป็นนักปราชญ์มาจากประเทศสิงหล (ลังกา) มาตั้งปริศนาปัญหาธรรมที่แสนยาก พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโปรดให้พระสามีรามเถระแก้ปัญหาธรรมนั้นๆ จนชนะพราหมณ์ชาวสิงหล จึงพระราชทานยศเป็นพระราชมุนี เมื่อกลับมาเมืองพัทลุงได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระรัตนมหาธาตุไว้บนเขาพะโคะ สูง 1 เส้น 5 วา มีระเบียงล้อมรอบพระเจดีย์

ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้นฉลองพระเจดีย์นั้น ท่านอาจารย์เฒ่า วัดเขาอ้อ พัทลุง องค์หนึ่งชื่อ สมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งคงจะเป็นชื่อที่ยกย่องเช่นเดียวกับสมเด็จเจ้าพะโคะ นำพุทธบริษัทไปในงานฉลองพระเจดีย์ทางเรือใบ แสดงอภินิหารวิ่งเรือใบเลยขึ้นไปถึงเขาพะโคะ ซึ่งไกลจากทะเลมาก ทำให้ประชาชนที่เห็นอภินิหารเคารพนับถือ และปัจจุบันสถานที่ตรงนั้นเรียกกันว่า "ที่จอดเรือท่านอาจารย์วัดเขาอ้อ"

ต่อมา
ท่านสมเด็จเจ้าพะโคะ ให้คนกวนข้าวเหนียวด้วยน้ำตาลโตนด ภาษาภาคใต้เรียกว่า เหนียวกวน ทำเป็นก้อนยาวประมาณ 2 ศอก โตเท่าขา ให้พระนำไปถวายสมเด็จเจ้าจอมทอง วัดเขาอ้อ ครั้นถึงเวลาฉันท่านสมเด็จเจ้าจอมทองสั่งให้แบ่งถวายพระทุกองค์ ศิษย์วัดตลอดถึงพระก็ไม่มีใครที่จะแบ่งได้ เอามีดมาฟันเท่าใดก็ไม่เข้า ทราบถึงสมเด็จเจ้าจอมทอง ท่านสั่งให้เอามาแล้วท่านจึงเอามือลูบ แล้วส่งให้ศิษย์ตัดแบ่งถวายพระอย่างข้าวเหนียวธรรมดา อยู่มาวันหนึ่ง สมเด็จเจ้าจอมทองให้พระนำแตงโมใบใหญ่ 2 ลูก ไปถวายสมเด็จเจ้าพะโคะ พอถึงเวลาฉันก็ไม่มีใครผ่าออก สมเด็จเจ้าพะโคะทราบเข้าก็หัวเราะชอบใจ พูดขึ้นว่า สหายเราคงแสดงฤทธิ์แก้มือเรา ท่านรับแตงโมแล้วผ่าด้วยมือของท่านเองออกเป็นชิ้นๆ ถวายพระ

การแสดงอภินิหารของพระอาจารย์ครั้งโบราณเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งมีมากอาจารย์ด้วยกัน ต่อจากนั้นพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุกๆ องค์ ได้แสดงฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ตลอดมา จึงเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทุกชั้น เจ้าเมืองพัทลุงทุกคนต้องไปเรียนวิชาความรู้ที่วัดเขาอ้อ

หลวงปู่สงฆ์ จันทโร วัดเจ้าฟ้าศาลาบอย

ประวัติ หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
         หลวงปู่สงฆ์ เป็นนามที่ ชาวกรุงเทพมหานคร เรียกชื่อท่าน ด้วยความ เคารพ เลื่อมใส ท่านเป็นพระคณาจารย์ สมถวิปัสสนา ที่ชาวจังหวัดชุมพร และชาวกรุงเทพๆ ภูมิใจเป็นหนักหนา หลวงปู่ท่าน มีความเมตตาปรานีแก่ทุกๆคน ไม่เลือกชั้นวรรณะ ถ้าแม้บุคคล ใดไปขอพรจากท่านแล้ว จะได้รับความสมหวังอย่างมั่นคง ด้วยทุกคนเชื่อว่า ท่านหลวงปู่สงฆ์ มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก หลวงปู่สงฆ์ ท่านเป็นคนชาว จังหวัดชุมพร โดยกำเนิด ท่านเกิด ที่หมู่บ้านวิสัยเหนือ อ.สวี จ.ชุมพร เมื่อวันอังคาร เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีขาล พ.ศ.๒๔๓๓ บิดา ชื่อ นางแดง มารดาชื่อ นางนุ้ย มีอาชีพทำนา-ไร่สวน อายุได้ ๑๘ ปี ท่านได้บรรพชาเป็น สามเณร ที่วัดสวี อันเป็นวัดใกล้ๆบ้านเกิดท่าน
         เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ ๒ ปี จึงได้ลาสึก ออกไปช่วยบิดา มารดา ประกอบอาชีพทำงานท้องนาและไร่สวน ครั้นอายุครบอุปสมบท ท่านได้มาฝากตัวแก่พระอุปัชฌาย์ ที่วัดสวี ขอบวชเป็น พระภิกษุสงฆ์ ได้รับความเมตตาจาก พระอาจารย์ชื่น เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้ฉายาว่า "จันทสโรภิกขุ" หลังจากบวชเป็นพระแล้ว ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาที่วัดควน อ.สวี จ.ชุมพร ๑ พรรษา ในระหว่างพรรษา ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มเติม จนพอรู้แนวทางการ ดำเนินชีวิตในเพศพรหมจรรย์ ออกพรรษาแล้ว ท่านมีความสนใจทางสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน แต่ในจังหวัดชุมพร ไม่มีพระอาจารย์สอนทางด้านนี้เลย ท่านจึงกราบลาพระอุปัชฌาย์ -อาจารย์ ออกจากจังหวัดชุมพร มุ่งหาพระอาจารย์สอนกรรมฐานในถิ่นอื่นๆ โดยได้ออกเดินทางไปท่ามกลางป่าเขาอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง เพราะท่าน ยังไม่รู้จักคำว่า " เดินธุดงค์" ในสมัยนั้น แต่หลวงปู่สงฆ์ มีความแน่ใจว่า การเดินทางอยู่ในป่าดงพงไพรนี้ จะต้องพบกับ พระผู้ปฏิบัติบ้าง เพราะพระกรรมฐานชอบอยู่ป่าดง มากกว่า อยู่วัดวาอาราม หลวงปู่สงฆ์ รอดพ้นจากอันตรายรอบด้าน เช่น สัตว์ป่า ไข้ป่าอันดุร้ายไปได้ ก็เพราะแรงใจที่มุ่งปฏิบัติธรรม กับพระอาจารย์องค์ใดองค์หนึ่ง เมื่อพบก็จะมอบตัวเป็น ศิษย์ ขอฝึกอบรมด้วยเท่านั้น
         หลวงปู่สงฆ์ประสบความสมหวัง เมื่อได้ทราบว่า .... พระอาจารย์รอด วัดโต๊ะแซ หรือตอแซ เป็นพระอาจารย์ที่ทรงฌานสมาบัติสูงองค์หนึ่ง ในจังหวัดภูเก็ต ท่านจึงได้ไป ฝากตัวเป็นศิษย์ ขอฝึกอบรม ปฏิบัติพระกรรมฐาน อยู่กับพระอาจารย์รอด ๒ พรรษา หลวงปู่สงฆ์ มีความพากเพียร อย่างคร่ำเคร่ง มีสมาธิแก่กล้า สามารถในทาง ปฏิบัติมากแล้ว ท่านพระอาจารย์รอด ได้ให้ออกเดินธุดงค์ไปอยู่ป่าช้า ตามถ้ำผาป่าดง ต่อไป เพื่อความรุ้แจ้งในจิตใจ และจะได้ปรารภธรรมตามสติปัญญา หลวงปู่สงฆ์เดินธุดงคกรรมฐานไปจนถึงชายแดนด้านมาลายู จากนั้นท่านก็ ได้เดินธุดงค์ ย้อนกลับมาจนถึงจังหวัดเพชรบุรี
         หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านมีความชำนาญในเรื่องสมถกรรมฐานและวิปัสสนา กรรมฐานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัยก่อนโน้น ทางภาคใต้ นับตั้งแต่จังหวัดชุมพรลง ไป ครูบาอาจารย์ต่างๆ มักจะสนใจปฏิบัติสมถกรรมฐานแล้ว เดินจิตเล่นฤทธิ์ กันเสีย โดยส่วนมาก สำนักเรียนวิชาต่างๆ ภายใน(จิต) สำนักเขาอ้อ มีชื่อเสียงมากในเรื่องนี้ แต่ หลวงปู่สงฆ์ ก็ดี หลวงปู่หมุนก็ดี ตามที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในปัจจุบันนี้ ท่านสามารถหัน เข้ามาดำเนินจิตสู่วิปัสสนากรรมฐานเสีย เพราะเป็นหนทางออกจากความยึดมั่น ในอำนาจจิต อำนาจฌานได้อย่างสิ้นเชิง เป็นความจริงดังนี้
         ต่อมาหลวงปู่สงฆ์ ท่านเกิดสติปัญญา มองเห็นภัยในวัฎสงสาร ที่มันเคย แปรปรวน หมุนเวียน ไม่รู้จบ ท่านเกิดเบื่อหน่าย คิดดำเนินชีวิตในป่าดงพงไพร ทำจิต เร่งบำเพ็ญเพียร เพื่อความพ้นทุกข์ การเดินธุดงคกรรมฐานของครูบาอาจารย์นั้น มิใช่ว่าจะเดินไปในที่แห่งหนึ่ง แล้วไปในที่แห่งหนึ่ง พึงรีบเดินเพื่อให้ถึงเร็วๆนั้น หาไม่ แต่การเดินธุดงค์ก็เหมือนการเดินแบบปกติ หรือเดินจงกรมนั่นเอง ท่านเดินอย่างมีสติ .... คือ ขณะที่ก้าวเดินไปนั้น ท่านกำหนดคำบริกรรม หรือพิจารณาธรรมไปเรื่อยๆ โดยไม่นับก้าวแต่อย่างใด ท่านเดินด้วยสติ แม้อะไรจะเกิดขึ้นมาในช่วงนั้น ท่านก็รู้ชัด ไม่มีอาการของ จิตแส่ส่ายไปมา เพราะสติเป็นกำลังอันสำคัญขณะทำความเพียร เช่นอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านได้อาศัยชีวิตอยู่ในป่าดงเป็นเวลาหลายปี อาศัยโคน ไม้ ถ้ำผาต่างๆ เป็นที่พักผ่อน ไม่มีความอาลัยในชีวิตว่าจะสุข หรือทุกข์ ท่านมุ่งปฏิบัติธรรม เพื่อความรู้ธรรม
         เมื่อรู้ธรรมแล้ว ท่านก็นำธรรมะนั้น มาสอนจิตสอนใจตนเอง ขัดเกลา กิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นสมบัติประจำสันดานมนุษย์ ให้หลุดให้ลอกออกไปจากจิตใจ ชำระจิตใจด้วยธรรม เพื่อความสะอาดหมดจดแห่งชีวิต ๗ ปี แห่งการทรมานกิเลส ภายในจิตใจของท่าน ซึ่งไม่เคยออกจากป่าสู่เมือง เลย ทำให้สภาพจิตสดใสแจ่มแจ้งในธรรมะ แต่สภาพสังขาร ดูออกจะเป็นฤาษีชีไพร หนวดเครารุงรัง ผมเผ้ายาว จีวร สบง ขาดรุ่งริ่ง นั่งภาวนาในป่าเมืองชุมพร คล้ายกับวาสนาท่านจะต้องมาอยู่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จึงมีชาวบ้านป่า เดินตามนกตัวหนึ่ง ที่ร้องเป็นภาษามนุษย์ว่า " หนักก็วางเสีย ! หนักก็วางเสีย " ชาวบ้านป่า เดินตามนก จนพบหลวงปู่สงฆ์ และได้นิมนต์มาอยู่วัดร้างแห่งนั้น หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่มีความอดทน ค้นคว้า สัจธรรม ความเป็นจริง ของพระพุทธเจ้า ด้วยชีวิตเป็นเดิมพัน ๑๐ พรรษา ท่ามกลางป่าดง ท่านอาศัยภูเขาลำเนาไพรมาโดยตลอด การบิณฑบาต ท่านโคจรไปในหมู่บ้านชาวป่า ได้บ้างอดบ้าง ตามอัตภาพ จนมีความพอดีแก่จิตใจ ปล่อยวางของหนักได้หมดสิ้นแล้วอย่างมั่นใจ
         ท่านจึงออกจากป่า สู่วัดร้างแห่งหนึ่ง ท่านได้จำพรรษาก่อสร้างวัดร้างแห่งนั้น จนเจริญรุ่งเรืองในปัจจุบัน โดยขนานนามว่า วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย อ.เมือง จ.ชุมพร หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง ในจังหวัดชุมพร บัดนี้ท่านได้วางแล้วซึ่งขันธ์อันหนักหน่วงของท่าน และได้ทิ้งรากฝากความดีงามให้แก่ชนรุ่นหลังระลึกถึง ณ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
สิ่งมงคลและยาวิเศษ
         สิ่งอันเป็นมงคลที่หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร อนุเคราะห์ชาวบ้านที่ได้รับความทุกข์ร้อน โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เมื่อมาหาท่าน ท่านจะอนุเคราะห์ช่วยเหลือจนหายจากโรคภัยไข้เจ็บโดยสิ้นเชิง และสิ่งของที่ท่านมอบให้นั้นก็ไม่กี่บาท ขอยกให้เห็นชัดดังนี้ ที่ข้าง ๆ บันไดกุฏิของท่านจะมีตุ่มใส่น้ำมนต์ตั้งไว้ใบหนึ่ง ท่านจะลงมาจากกุฏิทำน้ำมนต์ ในเวลากลางคืนแล้วนำมาใส่ตุ่มไว้ ตอนเช้ามืดอีกครั้งหนึ่ง ท่านจะลงมาเทใส่ตุ่มที่หมดทุกวัน ๆ น้ำมนต์ในตุ่มนั้นจะมีผู้ที่รู้แหล่งเข้ามาขอตักไปบูชาหรือดื่มกิน น้ำมนต์ของหลวงปู่สงฆ์เป็นสิ่งมงคลที่มีความขลัง และศักดิ์สิทธิ์ สามารถอาราธนาให้เกิดผลในสิ่งที่ตนปรารถนาได้ทุกประการตามแต่คำอธิษฐานจิตของผู้ใช้ โอ่งน้ำมนต์ของท่านเรียงรายอยู่ตามบันได ทางขึ้นลงกุฏิทั้งด้านซ้ายด้านขวา แท้จริงถ้ามองเผิน ๆ มันจะเป็นโอ่งน้ำล้างเท้า แต่ทว่าไม่ใช่ เพราะคนสมัยนี้สวมรองเท้า ไม่ได้มาเท้าเปล่าแล้วมาล้างเชิงบันได เมื่อตื่นขึ้นตอนเช้าหลวงปู่จะทำน้ำมนต์ มาเทลงในโอ่ง ท่านทำอย่างนี้ทุกวัน
         น้ำมนต์ไล่ผีอย่างเห็นได้ชัด ครั้งหนึ่งมีคนแถวสามแก้วได้พาลูกสาวซึ่งมีอาการเหมือนถูกผีเข้าสิง ดิ้นทุรนทุรายร้องเอะอะเสียงดัง ญาติผู้ชายร่างกายแข็งแรงต้องช่วยกันพามาที่วัด มานั่งรออยู่เชิงบันได เพราะบนกุฏิหลวงปู่นั้น ผู้หญิงขึ้นไม่ได้ แล้วพ่อของเด็กก็ขึ้นไปเล่าอาการให้ฟัง เมื่อได้ฟังอาการแล้วหลวงปู่ก็เดินมาที่หน้ากุฏิมองลงมาที่เด็กสาวคนนั้น ชายสองคนจับแขนเอาไว้แน่น ขณะที่เด็กสาวสะบัดจะให้หลุด ปากก็ร้องเสียงดังเอะอะ หลวงปู่มองดูสักครู่ท่านก็ร้องบอก นิ่งเสียบ้างซิ”
         เด็กสาวที่ร้องครวญครางส่งเสียงดังก็หยุดชะงักลงทันทีเมื่อสิ้นเสียงหลวงปู่ที่พูดลงมา สักครู่ก็ร้องอีก นายสร้าง คนติดตามหลวงปู่มานานหลายปีได้ยื่นขันน้ำที่ตักจากในโอ่งบนกุฏิส่งให้ หลวงปู่หยิบขันน้ำมาก็เทโครมลงมาทันที ถูกร่างของเด็กสาวคนนั้นอ่อนแรงจนนอนราบเรียบสงบ หลวงปู่หันหลังกลับเข้ากุฏิ สักครู่เด็กสาวคนนั้นก็ลุกขึ้นงัวเงีย อาการผิดปกติหายไปราวกับปลิดทิ้ง น่าสังเกตตรงที่ว่า น้ำที่นายสร้างตักใส่ขันความจริงเป็นน้ำดื่มกินธรรมดา เมื่อหลวงปู่รับขันมาท่านก็เทโครมทันที ไม่ได้เสกหรือเป่าใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าเป็นรูปแบบของคณาจารย์อื่น ๆ จะต้องมีการเสกการเป่าเสียก่อน แต่หลวงปู่ไม่ต้อง ได้มาเททันที
         เรื่องของการใช้น้ำมนต์ไล่ผีเข้าเจ้าสิงของหลวงปู่นั้นโด่งดังอยู่ ดังนั้นน้ำมนต์ของหลวงปู่จึงมีคนต้องการมาก
ยาเส้น
ตามปกติหลวงปู่สงฆ์ท่านชอบใช้ยาเส้นสีปากแล้วอมเอาไว้ ดังนั้นยาเส้นที่ท่านใช้แล้วเหล่านั้น จะกลับกลายเป็นของวิเศษ เป็นของที่มีมงคลศักดิ์สิทธิ์ คือ กลายเป็นของขลังอย่างยอดเยี่ยม สมัยก่อนนั้น คนที่ไปวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยจะหายาเส้น ไปสักจำนวนหนึ่ง บางคนก็เอาไปเป็นห่อ แล้วก็ให้หลวงพ่อเสกให้ต่อจากนั้นก็นำมาเป็นวัตถุมงคลติดตัว ต่อมาทางวัดมีความคิดดีนำเอายาเส้นอัดพลาสติกห้อยคอ ทำเหมือนกับลูกอม ปิดทองอีกด้วย เพราะยาเส้นโด่งดังและเป็นที่ต้องการของผู้ที่เข้าวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย เรื่องมันมีอยู่ ค่อนข้างเกรียวกราวในชุมพร คือ ครั้งหนึ่ง ได้มีคนมาหาหลวงปู่ ท่านก็มอบยาเส้นไปให้ ยาเส้นนี้เดิมทีเป็นของใช้ประจำวันของหลวงปู่ ท่านเอามาสีฟัน คนที่เคารพนับถือเห็นว่าอะไรก็ตามที่ท่านใช้ย่อมจะเป็นมงคลทั้งสิ้น ก็เลยขอยาเส้นท่านไป เมื่อได้แล้วก็นำไปไว้ในเซฟ รวมกับเอกสารและของมีค่า เขาถือว่า ยาเส้นของหลวงปู่ เป็นของมีค่าด้วยชนิดหนึ่งต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี หลังจากนั้นไม่นานนักขโมยเกิดเข้าบ้านชายคนนี้ เมื่อมันเปิดเซฟออกมา มันก็เบือนหน้า เพราะในเซฟไม่มีสมบัติอะไรเลย ภายในเซฟมีแต่ยาเส้นกองเต็มไปหมดไม่มีของมีค่า
         แต่แล้วคนพวกนี้ก็ไปไม่รอด โดนจับได้ ของกลางไม่มีอะไร เพราะมันไม่ได้อะไรไปเลย บอกกับตำรวจเพียงว่า“ในเซฟมีแต่ยาเส้น ใครจะเอาไปทำไม” ความจริงยาเส้นในเซฟนั้นมีเพียงก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือเท่านั้น แปลกใจทำไมมันจึงมองเห็นว่ามีมากมายไปได้หรือจะเป็นเพราะ อภินิหารยาเส้นมงคลของหลวงปู่ ยาเส้นของหลวงปู่นั้นแท้จริงก็คือ ยาเส้นที่หลวงปู่ชอบอมเอาไว้ หรือเรียกกันแบบภาษากลางว่า ถุนยา คือเอายาเส้นใส่ปากอมเอาไว้ เมื่อมีคนอยากได้ บางคนขอเอาจากปากท่านเลยก็มี ท่านก็คายออกใส่มือที่แบรออยู่
น้ำปลา...ยาวิเศษ
         เรื่องนี้ได้ทราบจากชาวบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อหลายปีมาแล้วว่า เขาปวดท้องมานาน ๑๐ กว่าปี ไปรักษาที่ไหนตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เสียเงินไปเป็นแสนบาท นายแพทย์เก่งขนาดไหนก็รักษามาแล้ว ที่ไหนว่าเก่ง ๆ พอเจอโรคของบุคคลนี้เข้า ยอม กลัว รักษาไม่หาย ต่อมาได้ยินเขาเล่าลือว่าทางจังหวัดชุมพรมีพระที่วิเศษรูปหนึ่ง เคยรักษาโรคมาเป็นพันๆ คน และก็หายจนหมดสิ้นทุกคนคนป่วยจึงได้หอบสังขารชนิดผอมติดกระดูกมาหา หลวงปู่สงฆ์ นี่แหละ ทันทีที่เห็นหน้าหลวงปู่สงฆ์ คนป่วยก็มีความรู้สึกศรัทธาอย่างมากมาย ขนลุกขนพองอยู่ตลอดเวลา แม้ท่านจะกลับเข้ากุฏิไปแล้วก็ตาม ศิษย์ของท่านจึงนำน้ำปลาไปให้ท่านเพ่งกระแสจิตให้สัก ๑๐ นาที แล้วนำน้ำปลานั้นมาให้และบอกว่าให้กินน้ำปลานี้ ยาอื่นท่านบอกว่าไม่ต้องกินแล้ว ถึงกินก็ไม่หาย ด้วยความศรัทธาในองค์หลวงปู่สงฆ์ หญิงคนนั้นจึงเปิดขวดน้ำปลาดื่มเข้าไป แม้ว่าน้ำปลาจะมีรสเค็มจริงอยู่ แต่เวลาน้ำปลาผ่านลำคอไปแล้ว รู้สึกเย็น ๆ พอไปถึงท้องแล้วอาการปวดท้องเสียด ๆ นั้นก็หายเป็นปลิดทิ้ง ไม่เกิดขึ้นอีกเลย เกิดความตื้นตันขึ้นมา ดื่มเข้าไปอีกต่อหน้าลูกศิษย์หลวงปู่สงฆ์ มีอาการยิ้มแย้มฉายให้เห็นท่าทีว่า อาการภายในสงบ ภายนอกก็แจ่มใส ผู้ป่วยนั้นก็ก้มลงกราบตรงเชิงบันไดกุฏิของหลวงปู่สงฆ์ แล้วได้ร่วมทำบุญกับวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยด้วยความศรัทธาแล้วจึงลากลับบ้านของตน
         สำหรับชาวบ้านจะนำน้ำปลาเอามาให้หลวงปู่สงฆ์เสกเป่าเป็นมงคลขึ้น เสร็จพิธีแล้วน้ำปลาจะเป็นของศักดิ์สิทธิ์ มีความขลังในการรักษาโรคผิวหนัง แผลเน่าเปื่อยได้ชะงัดดีนัก โดยเฉพาะผู้ที่ติดยาเสพติด น้ำปลาของหลวงปู่สงฆ์จะรักษาได้เป็นอย่างดี นับเป็นสิ่งมงคลในการรักษาโรคภัยอย่างไม่เคยมีผู้ใดกระทำมาก่อน
น้ำล้างบาตร
น้ำล้างบาตร นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อท่านฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ท่านจะเอาน้ำใส่บาตรเพื่อล้าง ผู้ประสงค์ก็จะคอยรับน้ำล้างบาตรกัน เมื่อผู้ใดได้น้ำล้างก้นบาตรแล้ว ก็จะนำเอาไปอธิษฐานบารมีเป็นที่พึ่ง เพื่อนำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แล้วก็ได้รับความสำเร็จทั่วหน้า
         เรื่องน้ำล้างบาตรของหลวงปู่สงฆ์ นี้ ก็มีเรื่องเล่ากันว่ามีสุภาพสตรีผู้หนึ่ง มีกิจการโรงแรมในจังหวัดชุมพร ได้เดินทางมาที่ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย และได้ขอน้ำล้างก้นบาตรจากหลวงปู่สงฆ์ เพื่อจะเอาไปแก้โรคภัยไข้เจ็บชนิดเรื้อรังที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เมื่อได้น้ำก้นบาตรใส่ขันใบใหญ่แล้ว เธอก็นั่งรถกลับจังหวัดชุมพร แต่ขณะนั่งรถมาระหว่างทางเธอได้พิจารณาดูน้ำล้างบาตรในขันที่ใส่มา เห็นเม็ดข้าวขาว ๆ และชิ้นเศษอาหาร ลอยปะปนอยู่ ดูสกปรกน่ารังเกียจ ก็เกิดเสื่อมความศรัทธาขึ้นมา และไม่เชื่อว่าน้ำล้างก้นบาตร นี้จะรักษาโรคได้จริง คิดได้ดังนั้นก็หยิบยกขึ้นมาเทลงข้างทางเสีย แล้วก็นั่งรถกลับมาถึงบ้าน คืนนั้นขณะกำลังนอนหลับอยู่ พอเริ่มเคลิ้ม ๆ หลับได้นิดเดียวก็รู้สึกคันระยิบระยับไปทั้งตัวเป็นที่น่าสงสัยนัก เธอผู้นั้นจึงลุกขึ้นไปเปิดไฟดูก็พบว่า หนอนตัวขาว ๆ จำนวนมากมาย ไต่ตามตัว และที่นอนยั้วเยี้ยเต็มไปหมด สตรีผู้นั้นตกใจและขยะแขยงแทบเป็นลม จึงร้องเรียกคนรับใช้ให้มาช่วยกันกวาดเอาตัวหนอนขาว ๆ เหล่านั้นออกมาจากห้องไปทิ้งเสีย สตรีผู้นั้นก็มิได้สนใจคิดอะไร ล้มตัวลงนอนต่อไป พอเกือบจะเคลิ้มๆ ได้สักเล็กน้อยก็รู้สึกเจ็บ รู้สึกว่าหนอนยังมีหลงเหลืออยู่อีกแต่ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งแรก จึงรีบเปิดไฟฟ้าขึ้นดู ทีนี้พบหนอนสีขาวๆ มากมายกว่าเก่า มีขนขึ้นเต็มตัว
         สตรีผู้นั้นเกิดความกลัวสุดขีด จึงวิ่งหนีออกมานอกห้องนอน แล้วเรียกคนใช้ออกมาให้กวาดหนอนไปทิ้งอีก คนใช้ทุกคนรีบกวาดหนอนตัวขาวๆ นั้นมารวม ๆ กัน เพราะครั้งนี้ดูมันคลานกันเต็มห้องไปหมด แต่ยังมิได้เอาไปทิ้งก็เกิดเหตุที่ทำให้ตกตะลึงอยู่ กับที่ฝูงหนอนดังกล่าวกลับกลายเป็นเมล็ดข้าวสารขาว ๆ ไปทั้งหมด แม้จะเป็นเมล็ดข้าวสารก็จริง แต่ ใจยังหวาดผวาด้วยความอัศจรรย์นั้นอยู่ ครั้นแล้วสตรีผู้นั้น เมื่อหายจากอาการตกตะลึง ก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเป็นอะไร รู้สึกสำนึกว่าตนเองได้ทำความผิดไว้อย่างมหันต์ที่คิดลบหลู่ดูหมิ่น น้ำล้างก้นบาตร ของ หลวงปู่สงฆ์เมื่อตอนกลางวันนี้ โดยนำน้ำก้นบาตรเททิ้งข้างทาง ดังนั้นสตรีผู้นั้นจึงจุดธูปเทียนขึ้นบูชา กล่าวคำอโหสิกรรมโทษที่ตนล่วงเกินด้วยความเกรงกลัว จากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีหนอนมารบกวนอีกเลย สามารถนอนหลับได้อย่างสบายตลอดรุ่งเช้า
กวางน้อย
         มีชาวบ้านคนหนึ่งได้นำลูกกวางมาถวายให้หลวงปู่ เป็นลูกกวางตัวผู้ ยึดถือหลักเอาไว้อย่างหนึ่งคือ ไม่ว่าคนหรือสัตว์ตัวเมียท่านจะไม่เลี้ยงเลย กวางน้อยตัวนี้กำลังซน หลวงปู่ก็เอาชายจีวรที่ท่านฉีกมาผูกคอไว้ มันก็เที่ยวของมันไปตามประสา เพราะไม่ได้ผูกมัดแต่อย่างใด บางครั้งไปกินพืชผักของใครเข้า เจ้าของโกรธไล่ตี มันก็วิ่งหนีกลับเข้าวัด เพราะความเกเรซุกซนของมันนี่แหละ โดนดีเข้าจนได้ มีคนเอาปืนลูกซองยิงมัน แต่ทว่าด้าน ยิงไม่ออกหลายครั้ง จนลือกันว่า กวางตัวนี้หนังมันดี ยิงไม่ออก วันหนึ่งมันออกไปกินยอดพลูของครูคนหนึ่งเข้าที่บ้านข้างวัด ครูคนนั้นก็เอาไม้ไล่ตี ปากก็ตะโกนด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย ตกกลางคืน กวางตัวนี้ ชื่อไอ้น้อย ก็แอบเข้ามากินยอดพลูที่เหลือหมดที่ปลูกเอาไว้ ครูนั้นโกรธมาก มาเล่าเรื่องแบบฟ้องหลวงปู่ ท่านก็หัวเราะพูดลอย ๆ ว่า “ก็ครูอยากไปด่ามันทำไม ไอ้น้อยไม่ชอบให้ใครด่า” ครูเก็บเอาความแค้นไว้ในอกเงียบ ๆ หลังจากนั้นได้ไปติดต่อกับคนรับซื้อสัตว์ป่า เพื่อจะขโมยไอ้น้อยกวางหลวงปู่มาขาย สมคบกับอีกคนหนึ่งเตรียมขโมยไอ้น้อย แล้ววันนั้นไอ้น้อยก็รับกรรม ถูกจับตัวเอาขึ้นบนรถไปหมายจะนำไปขายในกรุงเทพ ฯ บนรถบรรทุกไอ้น้อยมานั้นมีสัตว์ป่าอีกหลายตัวรวมอยู่ด้วย รถได้แล่นออกมาจากชุมพรจวนจะถึงเขาหินช้าง เกิดยางแตก กำลังเปลี่ยนยางอยู่นั้น ไอ้น้อยกวางหลวงปู่ก็หลุดหนีออกมาได้ ไอ้น้อยได้ไปเที่ยวอยู่แถว ๆ พ่อตาหินช้าง บ้านยายไท แถวน้ำตกกะเปาะอำเภอท่าแซะ อยู่ระยะหนึ่ง
         จนกระทั่งวันหนึ่ง ขณะที่ไอ้น้อย กำลังเที่ยวหาอาหารอยู่ในเวลาเช้า ไอ้น้อย หารู้ตัวไม่ว่า ความตายกำลังจะมาเยือนมันอยู่แล้ว ขณะที่มันกำลังเพลิดเพลินเล็มยอดไม้อยู่นั้น ก็ได้มีชายผู้หนึ่ง ชื่อว่า นายหวิน กำลังจะยัดเยียดความตายให้กับไอ้น้อย ด้วยอาวุธปืน นายหวินได้สับไกปืน เพื่อทีหวังจะล้มไอ้น้อยให้ได้ แต่ ๒ ครั้ง ๓ ครั้งแล้ว กระสุนของนายหวินก็ไม่ระเบิด แต่ทำไมจึงทำอะไรไอ้น้อยไม่ได้ “มันกวางอะไร กวางของใคร ทำไม่จึงยิงไม่ออก แปลก” นายหวินรำพึงรำพันอยู่ในใจ ขณะที่นายหวินครุ่นคิดอยู่นั้น สายตาไปเหลือบเป็นผ้าสีเหลือง คือผ้าพระผูกอยู่ที่คอของไอ้น้อย ด้วยความมั่นใจในฝีมือตัวเอง ประกอบกับดวงของได้น้อยมันถึงฆาต เหมือนกับคำที่กล่าวว่า“ถึงคราวตายแน่นอน ทางแก้ไม่มี ตายแน่เราหนีกันไปไม่พ้น จะเป็นราชาหรือมหาโจร ต้องทิ้งกายสกนธ์สู่เชิงตะกอน” นายหวินได้เข้าไปปลดผ้าสีเหลืองที่ผูกคอไอ้น้อยไว้ ซึ่งเป็นเศษผ้าจีวรของหลวงปู่ออกจากคอไอ้น้อย
         อนิจจาความตายกำลังจะมาเยือน ไอ้น้อย เมื่อดวงมันถึงฆาต มันก็ทำอะไรไม่ถูก ธรรมดาแล้วมันไม่ค่อยจะให้ใครเข้าใกล้ตัวมัน ยกเว้น หลวงปู่ และกับคนที่มันรู้จักมักคุ้นเท่านั้น แต่เพราะสัตว์มันไว้ใจคน หารู้ไม่ว่า คน ๆ นั้นกำลังจะหยิบยื่นความตายให้ นายหวินปลดผ้าเหลืองออกจากคอไอ้น้อยแล้วก็รีบวิ่งกลับไปยังบริเวณที่ได้เอาปืนพิงไว้กับต้นไม้ใหญ่ เบนลำกล้องปืนกลับมาสู่ตัวไอ้น้อยอีกครั้ง พร้อมกับลั่นไก “ปัง” เสียงปืนดังแน่นคับราวป่า ผู้ชำนาญเสียงปืน ถ้าได้ยินเสียงก็บอกได้ว่า กระสุนเข้าเป้าอย่างแน่นอน ไอ้น้อยล้มทั้งยืน ในขณะที่ปากของมันยังคาบยอดไม้อ่อนอยู่ แต่ว่ามันไม่มีโอกาสที่จะได้เคี้ยวอีกต่อไป เลือดแดงฉานทะลักออกมาจากท้องราวกับสายน้ำ ตาของไอ้น้อยค้าง แต่หากมันมีความรู้สึกสักนิด ก็จะสงสัยว่า “ทำไมวันนี้จึงสั้นเสียเหลือเกิน เรากินอาหารมื้อเช้ายังไม่ทันอิ่ม ก็มืดเสียแล้ว” โอ้อนิจจาความตายไม่เคยเว้นใคร แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน ฝ่ายนายหวิน มือเพชฌฆาต ดีอกดีใจที่ได้ล้มไอ้น้อยลงได้ใครล่ะจะแน่กว่าเรา ภรรยาของหวิน อยู่ที่บ้านตกใจ โดยไม่รู้สาเหตุ ตะโกนบอกเพื่อนบ้านใกล้เคียงว่า "หวินยิงกวางหลวงปู่ หวินยิงกวางหลวงปู่" ทั้ง ๆ ที่มิเห็นกับตา เพื่อนบ้าน เมื่อได้ยินดังนั้น ก็พากันไปดู พบหวินกำลังชำแหละเนื้อกวางตัวนั้นอยู่ บางคนก็คิดอยากจะช่วย แต่ในขณะนั้นเอง กลิ่นอุจจาระก็ส่งกลิ่นตลบอบอวน โดยไม่ทราบสาเหตุที่ไปที่มาของกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ หวินและเพื่อนบ้านช่วยกันตรวจสอบ ก็พบว่ากลิ่นนั้นมาจากซากกวางที่ถูกยิงนั้นเอง ในที่สุด ก็ไม่มีใครเอาเนื้อนั้นไปได้เลยแม้แต่น้อย เพราะเหมือนจะเหม็นจนไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง
         ฝ่ายหวินเอง เมื่อเห็นเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นก็เริ่มตกใจกลัวจนใจเตลิดเปิดเปิง กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “กวางที่ตัวเองล้มกับมือ กลายเป็นอุจจาระไปได้อย่างไร” สติวิปลาสขึ้นในบัดดลนั้นเอง วิ่งเตลิดเปิดเปิงกลับบ้านไม่ถูก เพื่อนบ้านกับภรรยาของหวิน เมื่อทราบดังนั้นจึงได้ไปบอกกล่าวขอโทษหลวงปู่ ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยว่า “หวินมันยิงกวางเสียแล้วล่ะ หลวงปู่” หลวงปู่ก็กล่าวว่า “คนยิงมันบ้า”  นายหวินก็บ้าไม่ได้สติตั้งแต่บัดนั้นจนทุกวันนี้ จะด้วยกรรมที่หวินทำลงไปหรืออะไร เราเองก็ไม่ทราบได้ แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับนายหวิน เพราะนายหวินไปยิงกวางของหลวงปู่ตาย

หลวงปู่ทวด วัดช้างให้

สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ
หลวงปู่ทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป




ทารกอัศจรรย์
         เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้
 นี้มีนายว่า “ปู” เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา
สามีราโม
         เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า “ราโม ธมฺมิโก” แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า “เจ้าสามีราม” หรือ “เจ้าสามีราโม” เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง
         เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา
         เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ

สถูปเจดีย์ หลวงปู่ทวด
รบด้วยปัญญา
         กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงปู่ทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์
         เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่าพระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย
พระสุบินนิมิต
รูปหล่อหลวงปู่ทวด ปางธุดงค์ วัดพะโคะ
เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมด
ครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบรรทม
รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที
อักษรเจ็ดตัว
         ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ “เจ้าสามีราม” ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า “เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้” ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีราม