วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หลวงปูทวด วัดช้างให้

สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ
หลวงปู่ทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป








ทารกอัศจรรย์
         เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้
 นี้มีนายว่า “ปู” เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา
สามีราโม
         เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า “ราโม ธมฺมิโก” แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า “เจ้าสามีราม” หรือ “เจ้าสามีราโม” เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง
         เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา
         เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ


สถูปเจดีย์ หลวงปู่ทวด
รบด้วยปัญญา
         กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงปู่ทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์
         เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่าพระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย
พระสุบินนิมิต
รูปหล่อหลวงปู่ทวด ปางธุดงค์ วัดพะโคะ
เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมด
ครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบรรทม
รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที
อักษรเจ็ดตัว
         ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ “เจ้าสามีราม” ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า “เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้” ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีราม


พ่อท่านไข่ วาจาสิทธิ์ วัดลำนาว

ประวัติพ่อท่านไข่ วาจาสิทธิ์ วัดลำนาว
 ท่านมีสมณศักดิ์ที่ พระครูศีลมงคล ฉายา นาถสีโล อายุ ๙๑ ปี
นาม เดิม ไข่ นะจะทอง โยมบิดาชื่อ ด้วง โยมมารดาชื่อ คล้าย ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๗ เดือน ๗ ปีเถาะ พ.ศ.๒๔๕๖ มีพี่น้อง ๓คน เป็นชายทั้งหมด

หลวงพ่อไข่ ท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี และอุปสมบทเป็นพระเมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ อุโบสถวัดชัยชุมพล อ.ทุ่งสง โดยมี พระครูอุดมศีลาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงพ่อไข่ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย ฝึกสมาธิกรรมฐาน กับครูบาอาจารย์หลายต่อหลายท่านจน หลวงพ่อไข่มีความเชี่ยวชาญแตกฉานในวิชาแขนงต่างๆ รวมทั้งพระคาถาอาคมขลัง ต่อมาพ่อท่านไข่ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งสร้าน วัดวังขรี วัดทุ่งควายและสุดท้ายท่านได้รับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาส วัดลำนาว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ มาจนถึงปัจจุบัน
พ่อท่านไข่ ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำวัตรปฏิบัติไม่เคยขาด เจริญกรรมฐานเป็นอารมณ์ท่านสวดพระคาถาชินบัญชรเป็นนิจ ตั้งแต่สมัยที่ท่านอุปสมบทใหม่ๆ จนถึงปัจจุบันทั้งยังเป็นพระที่รักสันโดษ มักน้อย สมถะ ไม่ยืดติดในลาภยศใดๆ ทั้งสิ้น สมกับเป็น พระแท้พระบริสุทธิ์สงฆ์ อันแท้จริงของชาวใต้ และเป็นหลักชัยของ อ.บางขัน ตลอดมา ในแต่ละวัน พ่อท่านไข่  วัดลำนาวท่านจะรับแขกเพียงหนึ่งหรือสองเวลาเท่านั้น ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่ไปหาท่านก็เพื่อขอพรจากท่าน เพราะต่างก็เชื่อกันว่า พรที่ได้จาก"หลวงพ่อไข่ วาจาสิทธิ์ วัดลำนาว"ท่านนั้นศักดิ์สิทธิ์มาก และจะเป็นไปตามวาจาสิทธิ์ของท่านเสมอ

พ่อท่านไข่  วัดลำนาว หรือ หลวงพ่อไข่ วาจาสิทธิ์

พระเกจิอาจารย์สายใต้

รายชื่อพระเกจิอาจารย์สายใต้ ที่ยังมีชีวิตอยู่ อาจจะไม่ครบแต่เท่าที่รู้ตามนี้ครับ
พระเกจิสายใต้


สายนครศรีธรรมราช
พระราชธรรมสุธี วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร, พระเทพสิริโสภณ วัดวังตะวันตก,
พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน, พ่อท่านเนียม วัดบางไทร, พระวินัย โมลี วัดวิเวกรัตนธัชมุนี,
พ่อ ท่านชม วัดโพธิ์เสด็จ, พ่อท่านสมนึก วัดทรงบล, พ่อท่านหรั่ง วัดห้วยเตง, พ่อท่านไพสิฐ อาศรมสามแก้ว พ่อท่านบุญให้ วัดท่าม่วง, พ่อท่านหม่ำ วัดนพรัตนาราม, พ่อท่านแสง วัดหน้าสตน, พระอาจารย์เปลี่ยน วัดสุขุม, พ่อท่านชัย วัดปากแพรก, พ่อท่านสุรินทร์ วัดรามแก้ว ,พ่อท่านผดุง วัดภูเขาหลัก, พ่อท่านณรงค์ วัดพรหมโลก, พระครูญาณธราภรณ์ วัดโคกโพธิ์สถิตย์, พ่อท่านเพ็ง วัดธาตุน้อย, พ่อท่านชม วัดควนคลัง, พระครูสุเมธ มงคลญาณ วัดคงคาวดี, พ่อท่านเนื่อง วัดสวนจันทร์, พ่อท่านกาชาด วัดหน้าพระธาตุ, พ่อท่านชอบ วัดหน้าพระบรมธาตุ, พระครูโกศลเวทย์ วัดแหลม, พระครูโสภิตบุญยสาร วัดหัวค่าย, พระครูอุดมวิริยคุณ วัดโคกสูง, พ่อท่านนิยม วัดนากุล, อาจารย์ชัย วัดบางไทร, พระครูจิตตสุนทร วัดสว่างอารมณ์, พ่อท่านเมียด วัดชัน, พ่อท่านแจ้ วัดเขาใหญ่ พระครูสุภัทรชยาภรณ์ วัดปากด่าน, พระครูพิทักษ์เจติยานุการ วัดถลุงทอง

สายจังหวัดพัทลุง (เขาอ้อ)
พระ ธรรมวรมนี วัดคูหาสวรรค์, พระครูพิพิธวรกิจ พ่อท่านคล้าย วัดภูเขาทอง, หลวงพ่อเงิน วัดโพรงรู, พ่อท่านเหวียน วัดพิกุลทอง, พ่อท่านอุทัย วัดวิหารสูง พระอาจารย์
ไพรัตน์ วัดเขาอ้อ, พระครูสังฆรักษ์เอียด (หลวงพ่อเอียด) วัดโคกแย้ม, พ่อท่านแคล้ว วัดธรรมเจดีย์, พ่อท่านพรหม วัดบ้านสวน, พระครูวิจิตรธรรมภาณ(สลับ ชูยก) วัดป่าตอ  พ่อหลวงศักดิ์ พระครูธรรมมาธิบาล(วัดท่ามิหรำ)



สายจังหวัดสงขลา
พระ เทพวีราภรณ์ วัดโคกสมานคุณ, พระอาจารย์ชัย วัดพะโค๊ะ, พระพิศาลพัฒนพิธาน (หลวงพ่อผัน) วัดทรายขาว, พ่อท่านกลาย วัดห้วยกลาย สายจังหวัดตรัง พ่อท่านโสภณ วัดเขาห้วยแห้ง, พ่อท่านประสูติ วัดในเตา, พ่อท่านณรงค์ วัดสาวิการาม, หลวงพ่อหวล วัดโคกหล่อ, พ่อท่านนวล วัดแจ้ง

วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)

วัดช้างให้ ตั้งอยู่ที่ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธ์ิ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐาน ปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป จนมาถึงวันหนึ่ง ช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงได้ถือเป็นนิมิตที่ดี จะใช้บริเวณนั้นสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชื่อว่า วัดช้างให้ แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านลังกา หรือ สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านได้เดินธุดงค์ไปมา ระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้ และได้สั่งลูกศิษย์ไว้ว่า ถ้าท่านมรณะภาพ ขอให้นำศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ ซึ่งเมื่อท่านมรณะภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ก็ได้นำศพท่านมา ทำการฌาปนกิจที่วัดช้างให้ อัฐิของท่านส่วนหนึ่งฝังไว้ที่วัดช้างให้ อีกส่วนหนึ่งนำกลับไปเมืองไทรบุรี ต่อมาได้สร้างสถูปบรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดช้างให้    เมื่อปี พ.ศ. 2480 พระครูมนูญเจ้าอาวาสวัดพลานุภาพ เจ้าคณะตำบลทุ่งพลา ให้พระช่วงมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ ท่านได้ชักชวนชาวบ้านมาแผ้วถางป่า สร้างกุฎิ ศาลาการเปรียญ พร้อมเสนาสนะอื่น ๆ จึงได้ชื่อว่า วัดราษฎร์บูรณะ เจ้าอาวาสองค์ต่อ ๆ มาก็ได้บูรณะเพิ่มเติมวัดช้างให้ มาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน วัดช้างให้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2500 และผูกพันธสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2501

วัดพระธาตุสวี ชุมพร

ตั้งอยู่ติดแม่น้ำสวี มีตำนานเล่าว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เสด็จยกทัพมาพักรี้พลอยู่ในเขตอำเภอสวี ได้พบเหตุการณ์ประหลาด คือ มีกาเผือกและกาอื่น ๆ จับกลุ่มส่งเสียงร้องเหนือกองอิฐปรักหักพัง จึงรับสั่งให้รื้อเศษอิฐที่หักพังทับถมกันออก พบฐานพระเจดีย์ใหญ่ เมื่อขุดลึกลงไปพบผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จึงโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นใหม่แทนเจดีย์องค์เดิม สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งปี พ.ศ.2459 ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ โดยการสร้างพระธาตุครอบเจดีย์องค์เดิม ส่วนด้านหน้าพระธาตุ ติดกับแม่น้ำสวีมีศาลเจ้าภายในเป็นรูปปั้นคนนั่งขนาดเท่าคนจริง ชาวอำเภอสวีเรียกว่า ศาลพระเสื้อเมือง

วัดทรายขาว สงขลา

  
 "เจ้าคุณผัน" พระนักพัฒนาแห่งแดนทักษิณ
ภูเขาหลง ตั้งอยู่ที่หมู่ ๖ ต.ทุ่งหวัง อ.เมือง จ.สงขลา สภาพภูเขาหลงมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม มีต้นไม้นานาชนิด และเมื่อขึ้นไปถึงยอดภูเขาหลงแล้วก็จะมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม สามารถมองเห็นทะเลสาบสงขลา และตำบลรอบๆ ได้อย่างชัดเจน
มีอาคารปฏิบัติธรรม ๒ หลัง ซึ่งสามารถรองรับผู้มาปฏิบัติธรรมได้ ๘๐๐-๑,๐๐๐ คน มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ที่นับถือศาสนาพุทธมาปฏิบัติธรรมเป็นประจำทุกเดือน
นอกจากนี้แล้ว ส่วนราชการทั้งภายใน จ.สงขลา และต่างจังหวัด ก็ใช้ภูเขาหลงเป็นสถานที่ฝึกอบรมสัมมนาต่างๆ เป็นประจำ โดยการนำของ พระราชพิพัฒนาภรณ์ (ผัน ปสนฺโน) เจ้าอาวาสวัดทรายขาว เจ้าคณะอำเภอเมืองสงขลา
ท่าน เจ้าคุณผัน มีประวัติการทำงานที่ดีเด่น ได้รับมอบหมายด้วยความเชื่อถือไว้วางใจ ให้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญโดยตลอด ท่านสามารถเป็นผู้นำในการทำงานหลายๆ ด้าน ไปพร้อมกัน ในขณะที่ดำเนินงานพัฒนาชุมชน ก็พัฒนาวัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปพร้อมๆ กัน
ในด้านงานเผยแผ่พระพุทธศาสนามีการอบรมธรรมแก่พระภิกษุสามเณรทุกวันธรรมสวนะ และวันอุโบสถ
นอกจากนี้ ท่านยังเป็นหนึ่งในสุดยอดพระเกจิชื่อดังของภาคใต้ ในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรายการสำคัญๆ จะมีนามของท่านปรากฏอยู่ตลอด
มี การอบรมศีลธรรมแก่พุทธศาสนิกชนทุกวันธรรมสวนะ มีผู้รักษาศีลฟังธรรมที่วัดตลอดปี จำนวน ๕๐-๑๐๐ คน เป็นวิทยากรอบรมธรรมแก่พุทธศาสนิกชน ทั้งที่ภูเขาหลง และนอกสถานที่ รวมถึงในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง ศรีลังกา ลาว และสหรัฐอเมริกา
รวมทั้งชักชวนชาวต่างประเทศเข้ามาบรรพชาอุปสมบท ณ วัดทรายขาว เป็นประจำทุกปี ที่สำคัญคือ ในปี ๒๕๔๗ ท่านยังดำเนินการจัดสร้าง วัดไทยในเกาะลังกาวี รัฐเกดาห์ ประเทศมาเลเซีย ชื่อว่า วัดไทยลังกาวีวนาราม มีพื้นที่จำนวน ๑๒ ไร่ สำหรับเป็นสถานที่บำเพ็ญศาสนกิจ และเผยแผ่ธรรมในต่างแดน รวมทั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมด้วยตนเอง
นอกจากการพัฒนาเด็กและเยาวชนในด้านการศึกษาแล้ว ท่านยังมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะอบรมบ่มเพาะศีลธรรมคุณธรรมขึ้นในจิตใจให้ พวกเขาอีกด้วย  ดังเช่นการเปิดแผนกธรรมศึกษาให้นักเรียน นักศึกษา ได้เรียนและฝึกปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง และการจัดกิจกรรมอบรมให้แก่เด็กและเยาวชนในวาระต่างๆ อยู่เป็นประจำ เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษา คุณธรรม จริยธรรมของพวกเขาให้สูงขึ้น
ดังจะเห็นได้ว่า ท่านเป็นแกนนำหลักในการพัฒนาโรงเรียนวัดทรายขาว ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนของเด็กในชุมชนทุ่งหวัง ให้มีความพร้อมสำหรับการเรียนการสอน
ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการสำคัญอีกโครงการหนึ่ง ที่ท่านเจ้าคุณผันจัดขึ้นทุกปี ณ วัดทรายขาว โดยท่านเป็นผู้อำนวยการโครงการเอง ได้แก่ โครงการอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน ซึ่งเป็นโครงการอบรมความรู้ด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม มารยาททางสังคม และความรู้วิชาสามัญ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และภาษาไทย เพื่อเยาวชนที่เข้าโครงการจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม สามารถนำความรู้ประสบการณ์ และทักษะที่ได้รับไปใช้ให้เกิดคุณประโยชน์ต่อตัวเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม

หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด พ่อท่านฉิ้น โชติโก วัดเมืองยะลา

พ่อท่านฉิ้น เป็นพระเกจิอาจารย์สายตรง"หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าท่านเป็นทั้งศิษย์และสหธรรมิกของพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร ส่วนศิษย์ของพระอาจารย์ทิมอีกท่านหนึ่งก็คือพระอาจารย์นอง วัดทรายขาว ทั้งสามท่านร่วมแรงร่วมใจกันจัดสร้างพระเครื่องเนื้อว่านหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ปี 2497 และพระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน วัดเมืองยะลา ปี 2505 และนี่เองที่เชื่อกันว่าพระเกจิอาจารย์ในยุคปัจจุบันไม่มีใครรู้เรื่อง ศาสตร์การสร้างพระเครื่องชุด หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ได้ดีเท่าพ่อท่านฉิ้น วัดเมืองยะลา